อย่างที่เกริ่นไว้แล้วว่าในปัจจุบันผลิตภัณฑ์ของการลงทุนมีหลากหลาย นอกจากจะลงทุนในตราสารทุน ตราสารหนี้ หรือกองทุนรวมแล้ว ยังมีการลงทุนอีกหลายประเภทที่เราควรทราบก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน เช่น
1. สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives)
คือสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างคู่สัญญา 2 ฝ่าย คือ "ผู้ซื้อ" กับ "ผู้ขาย" ที่จะซื้อขายสินค้ากัน (underlying) โดยตกลงราคาซื้อขายและวันที่จะส่งมอบกันในวันนี้ สินค้าที่ซื้อขายกันอาจจะเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ (commodities) เช่น ข้าว น้ำมันดิบ ทองคำ หรือหลักทรัพย์ เช่น หุ้น หุ้นกู้ พันธบัตรรัฐบาล หรือเป็นตัวแปร เช่น ดัชนีราคาหลักทรัพย์ อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน ประเภทของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ได้แก่
1.1 ฟิวเจอร์ส (Futures)สัญญาที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงที่จะซื้อขายสินค้าอ้างอิงในอนาคต โดยกำหนดจำนวนและราคาที่จะซื้อขาย รวมถึงวิธีการชำระราคาและส่งมอบไว้ล่วงหน้า และมีการกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ในลักษณะมาตรฐาน และทำการซื้อขายผ่านศูนย์ซื้อขายที่จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ |
1.2 ออปชั่น (Options)สัญญาที่ผู้ขาย (ผู้ออก) ให้สิทธิแก่ผู้ซื้อ (ผู้ถือ) ในการซื้อ (เรียกว่า call options) หรือขาย (เรียกว่า put options) สินค้าอ้างอิง ตามจำนวน ราคา และระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยผู้ซื้อจะต้องจ่ายเงินค่าซื้อออปชั่น หรือค่าพรีเมียมให้แก่ผู้ขาย เพื่อแลกกับสิทธิที่จะได้ซื้อหรือขายสินค้าอ้างอิงตามที่ตกลงกันไว้ |
1.3 ฟอร์เวิร์ด (Forward)สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับฟิวเจอร์ส แต่จะตกลงซื้อขายกันนอกศูนย์ซื้อขาย และการกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ในสัญญาจะขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ซื้อและผู้ขาย |
1.4 สวอป (Swap)สัญญาที่คู่สัญญาสองฝ่ายตกลงที่จะแลกเปลี่ยนกระแสเงินสดระหว่างกันในอนาคต โดยการรับและจ่ายกระแสเงินสดนั้นมีการอ้างอิงกับสินค้า เช่น สวอปอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Swap) ซึ่งคู่สัญญาตกลงที่จะแลกเปลี่ยนภาระการชำระดอกเบี้ยระหว่างกัน โดยฝ่ายหนึ่งมีภาระการชำระดอกเบี้ยในอัตราคงที่ ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งมีภาระการชำระดอกเบี้ยในอัตราลอยตัว |
2. กองทุนส่วนบุคคล (Private Fund)
คือกองทุนที่เกิดจากการที่บุคคลหรือคณะบุคคลไม่เกิน 35 ราย นำเงินและทรัพย์สินมารวมกันเป็นเงินลงทุนก้อนใหญ่ และมอบหมายให้บริษัทจัดการลงทุนเป็นผู้บริหารจัดการลงทุนแทน โดยมีการทำสัญญากำหนดขอบเขต นโยบายการลงทุนเป็นลายลักษณ์อักษร
3. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)
คือกองทุนที่ลูกจ้างและนายจ้างจัดตั้งขึ้นด้วยความสมัครใจ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการออมเงินแบบผูกพันระยะยาวสำหรับลูกจ้าง เพื่อไว้ใช้จ่ายเมื่อยามเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือต้องออกจากงาน ซึ่งเงินที่นำเข้ากองทุนประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ได้แก่
เงินที่ลูกจ้างจ่ายเข้ากองทุน เรียกว่า "เงินสะสม" ซึ่งกฎหมายกำหนดให้สะสมไม่ต่ำกว่า 2% แต่ไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง
เงินที่นายจ้างจ่ายเพิ่มให้ เรียกว่า "เงินสมทบ" ซึ่งกฎหมายกำหนดให้สมทบไม่ต่ำกว่าเงินสะสมของลูกจ้าง
ประโยชน์ของการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีดังนี้
สำหรับลูกจ้าง |
สำหรับนายจ้าง |
ก่อนเกษียณ
เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสามารถนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้ ไม่เกิน 500,000 บาท และต้องไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง หลังเกษียณ
ได้รับเงินกองทุน (ประกอบด้วยเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์จากการลงทุน) ไว้ใช้จ่ายยามเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือออกจากงาน ซึ่งได้รับยกเว้นภาษี |
สร้างแรงจูงใจในการทำงานให้แก่ลูกจ้าง
เงินสมทบที่นายจ้างจ่ายเข้ากองทุนแต่ไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีได้
|
4. กองทุนรวมทองคำ (Gold Fund)
คือกองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์หลักในการสร้างผลตอบแทนจากการมีฐานะการลงทุนในทองคำแท่ง ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนโดยทางตรง หรือโดยทางอ้อมผ่านการลงทุนในตราสารหรือสัญญาที่ให้ผลตอบแทนโดยอ้างอิงกับราคาทองคำแท่ง อันเป็นผลให้กองทุนรวมมีความเสี่ยงในทองคำแท่ง
5. อสังหาริมทรัพย์
เป็นการลงทุนอีกรูปแบบหนึ่งที่เราคุ้นเคยกันดี ซึ่งการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
5.1 ลงทุนทางตรง ได้แก่
ซื้อเพื่อปล่อยเช่า เป็นการลงทุนเพื่อเก็บเกี่ยวผลตอบแทน (ค่าเช่า) ที่จะได้รับเป็นงวด ๆ เช่น บ้านเช่า ห้องเช่า โกดังสินค้า ฯลฯ เหมาะกับผู้ที่ต้องการมีรายได้ประจำ เช่น ผู้ที่เกษียณอายุ
ซื้อเพื่อเก็งกำไร เป็นการลงทุนเพื่อทำกำไรจากส่วนต่างราคาซื้อกับราคาขาย ซึ่งผู้ลงทุนจะเข้าไปซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่มีราคาต่ำกว่าที่ควรจะเป็น หรืออยู่ในทำเลที่เป็นที่ต้องการของตลาด โดยคาดการณ์ว่าในอนาคตราคาจะสูงขึ้น |
5.2 ลงทุนทางอ้อม เป็นการลงทุนผ่านบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ในรูปแบบของ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ |
ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง 
